วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน

โครงการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 (เคมี)

เวลาเรียน 3 คาบ/สัปดาห์ /ปี จำนวน 1.5 หน่วยกิต
จุดประสงค์การเรียนรู้


ศึกษาวิเคราะห์ชนิดและสมบัติของสารเพื่อจำแนกออกเป็นธาตุ สารประกอบ สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย ตลอดจนศึกษาเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการแยกสารและทำให้สารบริสุทธิ์ โดยใช้เทคนิคต่างๆ ได้แก่ การกลั่น การกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย โครมาโทกราฟี และการตกผลึก ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการถ่ายเทมวลระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม พลังงานกับการเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมีรวมทั้งการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน
ศึกษาแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ต่อไปนี้ ดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก โดยศึกษาเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัม และการจัดเรียงอิเล็กตรอนในรูปแบบต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับตารางธาตุ สมบัติของธาตุ ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดเดือดจุดหลอมเหลว และเลขออกซิเดชัน


หน่วยที่ 1 สารและการเปลี่ยนแปลง
1. สามารถตรวจสอบสมบัติของสารเพื่อจำแนกสารเป็นหมวดหมู่
2. ระบุได้ว่าสารชนิดใดเป็นสารบริสุทธิ์ สารละลาย ธาตุ สารประกอบ คอลลอยด์หรือสารแขวนลอย
3. สามารถเลือกวิธีการแยกสารหรือทำให้สารบริสุทธิ์ด้วยการกลั่น การกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย โครมาโทกราฟี และการตกผลึก
หน่วยที่ 2 อะตอมและตารางธาตุ
1. สามารถบอกแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์ต่างๆได้
2. อธิบายความหมายของเลขอะตอม เลขมวล และไอโซโทป
3. คำนวณพลังงานคลื่นแม่เหล็กได้
4. บอกความสัมพันธ์ขนาดอะตอม รัศมีไอออน พลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
5. บอกค่าเลขออกซิเดชันของธาตุแต่ละตัวได้
หน่วยที่ 3 ปริมาณสัมพันธ์
1. บอกได้ว่าระบบใดเป็นระบบปิดหรือระบบเปิด
2. คำนวณหามวลของสารในปฏิกิริยาที่เป็นไปตามกฏทรงมวล
3. คำนวณหาอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมตัวกันเป็นสารประกอบตามกฏสัดส่วนคงที่
4. สามารถสรุปกฏเกย์ลูสแซก และกฏอาโวกาโดรได้
5. คำนวณหาสูตรเอมพิริคัส และสูตรโมเลกุลของสารหรือของก๊าซ รวมทั้งคำนวณหามวลเป็น
ร้อยละของธาตุองค์ประกอบจากสูตรที่กำหนดให้ได้
6. เขียนและดุลสมการเคมีเมื่อทราบสารตั้งต้น และผลิตภัณฑ์
7. คำนวณหาจำนวนโมล มวลของสาร ปริมาตรของก๊าซ และจำนวนอนุภาคของสารจากสมการ
เคมีได้
8. คำนวณหาร้อยละของผลได้ของสารจากการทดลอง
9. ทำการทดลอง รวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูล แปลความหมายข้อมูลและสรุปผลการทดลอง
เกี่ยวกับอัตราส่วนโดยปริมาตรของก๊าซในปฏิกิริยาเคมี และอัตราส่วนจำนวนโมลของสารที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการเขียนสมการเคมีได้

สาระการเรียนรู้
[ ] สาระที่1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต [ ] สาระที่2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
[ / ] สาระที่3 สารและสมบัติสาร [ ] สาระที่4 แรงและการเคลื่อนที่
[ / ] สาระที่5 พลังงาน [ ] สาระที่6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
[ ] สาระที่7 ดาราศาสตร์และอวกาศ [ / ] สาระที่8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่


มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตราจสอบได้ภายใต้ข้อมูลหรือเครื่องมือที่อยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ สังคม สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน

หัวข้อเนื้อหาวิชา
หน่วยที่ 1 สารและการเปลี่ยนแปลง
1.1 สารและสมบัติของสาร
1.1.1 สารบริสุทธิ์กับสารละลาย
1.2 ธาตุและสารประกอบ
1.2.1 ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติ
1.2.2 สมบัติบางประการของธาตุและสารประกอบ
1.2.3 สัญญลักษณ์ของธาตุและการเรียกชื่อ
1.3 สารละลายคอลลอยด์และสารแขวนลอย
1.3.1 สมบัติบางประการของสารคอลลอยด์และสารแขวนลอย
1.3.2 คอลลอยด์ในชีวิตประจำวัน
1.4 การแยกสาร
1.4.1 การกลั่น
1.4.2 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
1.4.3 การสกัดด้วยตัวทำละลาย
1.4.4 โครมาโทรกราฟี
1.4.5 การตกผลึก
1.5 การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
1.5.1 ระบบกับการเปลี่ยนแปลง
1.5.2 การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ
1.5.3 พลังงานกับการเปลี่ยนสถานะ
1.5.4 พลังงานกับการละลาย
1.5.5 พลังงานกับปฏิกิริยาเคมี

หน่วยที่ 2 อะตอมและตารางธาตุ
2.1 แบบจำลองอะตอม
2.1.1 แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
2.1.2 แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
2.1.3 แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
2.1.4 แบบจำลองอะตอมของโบร์
2.1.4.1 คลื่นและสมบัติของคลื่นแสง
2.1.4.2 สเปกตรัม
2.1.5 แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
2.1.6 การจัดอิเล็กตรอน
2.2 ตารางธาตุ
2.2.1 วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ
2.2.2 สมบัติของธาตุตามหมู่และคาบ
2.2.2.1 ขนาดอะตอม
2.2.2.2 รัศมีไอออน
2.2.2.3 พลังงานไอออไนเซชัน
2.2.2.4 อิเล็กโทรเนกาติวิตี
2.2.2.5 สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
2.2.2.6 จุดหลอมเหลวและจุดเดือด
2.2.2.7 เลขออกซิเดชัน

หน่วยที่ 3 ปริมาณสารสัมพันธ์
3.1 มวลอะตอม
3.2 มวลโมเลกุล
3.3 โมล
3.3.1 จำนวนอนุภาคต่อโมลของสาร
3.3.2 จำนวนโมลกับมวลของสาร
3.3.3 ปริมาตรต่อโมลของก๊าซ
3.3.4 ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมล อนุภาค มวลและปริมาตร
3.4 สูตรเคมีและสมการเคมี

วิธีการสอน
1. บรรยาย
2. อภิปราย
3. ค้นคว้าหาข้อมูลและนำเสนอ
4. ใช้สื่อผสม แผ่นภาพโปร่งใส วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. ปฏิบัติการในห้องทดลอง
การวัดและประเมินผล
คะแนนเก็บระหว่างภาค : ปลายภาค
การประเมิน
ระดับคะแนน
วิธีประเมิน
ทักษะปฏิบัติการทดลองและรายงาน 10
แบบประเมินทักษะปฏิบัติการ ใบงาน หรือโครงงาน 20
แบบประเมินงานหรือโครงงานการบ้านและแบบฝึกหัด 10
แบบฝึกหัดและบันทึกการส่งงานสอบย่อยครั้งที่ 2 20
สอบย่อยครั้งที่ 1 10
สอบกลางภาค 20
สอบย่อยครั้งที่ 2 10
การบ้านและแบบฝึกหัด 10